|
ประวัติของจังหวะ วอลซ์ |
ช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1910 - 1914 ฝูงชนได้หลั่งไหลไปที่บอสตันคลับ ใน โรงแรมซาวอย ที่ตั้งอยู่ ณ กลางกรุงลอนดอน เพื่อเต้นรำจังหวะ "บอสตัน วอลซ์" ซึ่งเป็นต้นแบบของวอลซ์ ที่ใช้ในการแข่งขันปัจจุบันในปี ค.ศ. 1914 จังหวะบอสตันได้เสื่อมสลายลง เบสิคพื้นฐานได้ถูกเปลี่ยนไปในทิศทางของ "วอลซ์" หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จังหวะวอลซ์ ได้เริ่มถูกพัฒนาให้ถูกทางขึ้น ด้วยท่าแม่แบบ อย่างเช่น THE NATURAL และ REVERSE TURN และ THE CLOSED CHANGE ความก้าวหน้าในการพัฒนา จังหวะ "วอลซ์" เป็น ไปอย่างยืดยาด และเชื่องช้า ผู้ที่ได้ทุ่มเทกับการพัฒนาจังหวะนี้เป็นพิเศษ ต้อง ยกให้ มิส โจส์เซฟฟิน แบรดลีย์ (JOSEPHINE BRADLY) วิคเตอร์ ซิลเวส เตอร์ (VICTOR SILVESTER) และแม็กซ์เวลล์ สจ๊วตค์ (MAXWELL STEWARD) และแพ็ทไซด์ (PAT SYKES) แชมป์เปี้ยนคนแรกของชาว อังกฤษ สถาบันที่ได้สร้างผลงานต่อการพัฒนาแม่แบบต่างๆ ให้มีความเป็น มาตรฐานคือ "IMPERIAL SOCIETY OF TEACHERS" (ISTD) ท่าแม่แบบ เหล่านี้ บรรดานักแข่งขันยังคงใช้กันอยู่ถึงปัจจุบัน |
ลักษณะเฉพาะของจังหวะ วอลซ์ | ||||||||||||||||
|
การสื่อความหมายของจังหวะ วอลซ์ |
ลักษณะ ท่าทางอย่างหนึ่งที่ต้องมีให้เห็นจากนักแข่งขัน ไม่ว่าจะระดับไหน คือ ลักษณะการแกว่งไกวของลูกตุ้มนาฬิกา เปรียบเทียบได้กับการแกว่งของลูกตุ้ม ระฆัง จังหวะวอลซ์ต้องมีการสวิงขึ้น และลงที่มีความสมดุล ในระดับที่ถูกต้อง ด้วยการเคลื่อนไหวที่โล่งอิสระ โครงสร้างของท่าเต้นต้องเป็นแบบที่มีการสวิง โยกย้าย นุ่มนวล เคลื่อนเป็นวง ซึ่งบังเกิดผลให้นักเต้นรำ เคลื่อนที่ไปอย่างเป็น ธรรมชาติ และโล่งอิสระร่วมกับการเปลี่ยนแปลงแรงโน้มถ่วง โดยปกติแล้ว วอลซ์ ควรประกอบด้วยลวดลายที่สามารถแสดงให้เห็นถึงการควบคุม (CONTROL) ที่ยอดเยี่ยม และเปี่ยมไปด้วยความมั่นใจ ในหลาย ๆ กฎเกณฑ์ ดนตรีจะมีความโรแมนติค ชวนฝัน ละเอียดอ่อน และ เปรียบเสมือนกับสตรีเพศ ซึ่งนี้คือ ข้อที่พึงระมัดระวังถึงของคู่แข่งขันจำนวนมาก เขาต้องปลดปล่อยให้ ความรู้สึกไวต่อการรับรู้ถึงจังหวะและอัตราความเร็วของ ดนตรีและการเตรียม พร้อมที่จะเต้นให้แผ่วเบา อย่างมีขอบเขตและอิสระเหมือนกับทุก ๆ จังหวะ การ เต้นจากเท้าส่ง (SUPPORTING FOOT) จะขาดเสียไม่ได้เลย สำหรับ วอลซ์ แล้ว "ชั่วขณะที่" เมื่อเริ่มยืดขึ้น (RISING) จากน้ำหนักเท้าส่งนั้นมีความสำคัญ ยิ่งการลดลงพื้น (LANDING) ขณะที่หน่วงลง (LOWERING)บนเท้าที่รับน้ำ หนัก (SUPPORTING FOOT) ตามความต้องการในแบบฉบับของ วอลซ์ต้อง เกร็งยืด (TENSION) และควบคุม (CONTROL) |